หลังจากสงครามโลกครั้งที่2 นายชวน ชวนิชย์ ได้ก่อตั้งบริษัท ชวนิชย์ จำกัด เพื่อส่งออกแร่ธาตุและวัตถุดิบไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตอนแรกเช่าตึกแถวอยู่บริเวณตลาดน้อยใกล้ๆกับบริเวณเซียงกง แต่ต่อมาจำเป็นต้องใช้พื้นที่เพื่อเก็บวัตถุดิบขนาดใหญ่ก่อนที่จะส่งออก เมื่อได้ทราบว่านายเลิศต้องการขายที่ดินผืนนี้พร้อมกับโกดังทั้งแปดหลัง จึงเกิดความสนใจและซื้อมาในปี จากนั้นเขาใช้โกดังเพื่อเก็บเมล็ดครั่งและแร่ธาตุต่างๆ ได้แก่ดีบุก วุลแฟรม ชีไลต์ ร่ทังสเตน) และแมงกานีส และใช้บ้านไม้เล็กๆตรงปลายซอยโกดังเป็นสำนักงาน (ภายหลังถูกรื้อออกและแทนที่ด้วยอาคารปูนซีเมนต์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของร้านอาหาร Sweet Pista)
ต่อมาในปีค.ศ.1946 นายชวนได้ว่าจ้างให้ “นายเม้ง”สร้างอาคารย์ชวนิชย์ โดยเป็นอาคาร 2ชั้นที่ยึดหลักการออกแบบสถาปัตยกรรมตามยุคสมัยนั้น จุดประสงค์เพื่อใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหม่ และปล่อยพื้นที่ที่เหลือให้บริษัทอื่นๆเช่า
อิทธิพลงานออกแบบแนวทาง Art Deco จากฝั่งยุโรปและอเมริกาส่งผลมาถึงงานออกแบบในประเทศไทยยุคนี้ ใช้รูปทรงเรขาคณิตเป็นแท่งทึบๆหนักแน่น ปรับแต่งให้เรียบง่ายในจังหวะที่ซ้ำๆ และเน้นความสมมาตรของแผนผัง โดยออกแบบให้มีรูปด้านที่เน้นส่วนกลาง และส่วนริมอาคารทั้ง 2 ข้าง หนักแน่นมั่นคง สง่างาม ดูเป็นทางการ
“…สถาปัตยกรรมในช่วง พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๘๙ (1932-1946) เป็นช่วงการออกแบบที่ยึดแนวสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิคตะวันออก ซึ่งต้องมีรูปแบบและสัดส่วนของอาคารที่ถูกต้องทุกส่วน โดยเฉพาะในเรื่องของแกน (Axis) ของอาคารทั้งแนวตั้งและแนวราบ (มองจากผังอาคาร) เพื่อให้เกิดความสมดุล รูปลักษณ์ภายนอกอาคารออกแบบให้แกนสมดุลย์อยู่กึ่งกลางอาคาร อีกทั้งการจัดวางผังบริเวณที่วางอาคารขนานตามแนวถนนให้รูปอาคารสอดคล้องกันตลอดแนวและวางตัวอาคารให้สัมพันธ์กับทิศทางแดด – ลม เพื่อให้สามารถรับลมธรรมชาติได้ดี…” |
Nitasrattanakosin.com |
อีกจุดเด่นของสถาปัตยกรมม ART DECO ที่ปรับ ให้เข้ากับ “สภาพอากาศท้องถิ่น” คือ “กันสาด” หรือ “EYEBROW” ที่เหมือน ชั้นวางอยู่เหนือหน้าต่าง ใช้บังแดดและฝน เป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับอาคารที่ยังไม่มีเครื่องปรับอากาศในสมัยนั้น
มีการลดทอนรายละเอียดของสถาปัตยกรรม ให้เรียบง่ายขึ้นตามแบบอย่างสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ส่วนผิวผนังภายนอกอาคารเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนทำผิวไม่เรียบ (Texture) และเซาะร่องเลียนแบบการเรียงหินเสมือนว่าอาคารก่อด้วยหิน สีถูกใช้เท่าที่จำเป็น เนื่องจากสีขาวนวล สีเบจ และสีเอิร์ธโทนเข้ามาแทนที่สีสันที่สดใสของ ART DECO ยุคแรก
อีกลักษณะพิเศษที่ผนวก “ความเป็นท้องถิ่น” เข้าไปในงานประดับ ได้แก่ลวดเหล็กดัดสั่งทำตามแบบพิเศษ ที่ว่ากันว่าเกิดขึ้นในยุคอินดัสเทรียลช่วง ค.ศ. 1950 โดยมีการนำเหล็กเส้นมาเป็นส่วนประกอบของงานตกแต่ง เช่น ซุ้มประตูทางเข้า ช่องหน้าต่าง ระเบียง ช่องระบายอากาศ เป็นต้น ส่วนเหล็กดัดในไทยนั้นได้รับอิทธิพลตามๆ กันมา และเห็นได้ชัดมากขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเรือนต่างๆ นิยมติดเหล็กดัดกันมากขึ้น
ปัจจุบันอาคารชวนิชย์ยังคงตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 48 ถนนกัปตันบุช ซอยเจริญกรุง30 ตรงข้ามกับอาคารโกดัง เพื่อใช้เป็นอาคารสำนักงานของบริษัท และปล่อยเช่าพื้นที่บางส่วนให้ผู้อื่นใช้